Choose your country / language

การอบชุบด้วยความร้อนบนพื้นผิวโลหะ

การอบชุบด้วยความร้อนบนพื้นผิวโลหะ

ไนโตรเจนทำให้เหล็กกล้าแข็งขึ้นได้อย่างไร

อุตสาหกรรมแปรรูปโลหะกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนให้คุ้มค่าต่อการผลิตโดยที่ไม่ลดคุณภาพ หรือจะเป็นข้อกฎหมายหรือมาตรฐานทางสังคมที่เข้มงวดมากขึ้น หรือแม้แต่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่บ่งบอกว่า อุตสาหกรรมแปรรูปโลหะกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม BALITHERM จากเออร์ลิคอน บัลเซอร์สคือคำตอบสำหรับกระบวนการอบชุบทางเคมีความร้อน เช่น การทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) และไนโตรคาร์บูไรซิ่ง (Nitrocarburizing) ด้วยแก๊สและพลาสม่า กระบวนการเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เมื่อเทียบกับกระบวนการอื่นๆ เช่น การชุบฮาร์ดโครมหรือการทำไนไตรดิ้งในอ่างเกลือ รวมทั้งยังให้ความแข็งได้สูงสุดถึง 1,100 VHN* ขึ้นอยู่กับกระบวนการและวัสดุที่ใช้

* VHN = ค่าความแข็งในหน่วยวิกเกอส์ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ควอตซ์มีความแข็งเท่าๆ กันที่ 1,120 VHN และสามารถขูดกระจกหน้าต่างให้เป็นรอยได้ ในขณะที่เพชรมีความแข็งอยู่ที่ 10,060 VHN.

สำหรับกระบวนการข้างต้น การแพร่ไนโตรเจนเข้าสู่พื้นผิวของวัสดุจะทำให้พื้นผิวดังกล่าวมีสมบัติทางกลและทางเคมีดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ได้เป็นการเคลือบผิว แต่เป็นการปรับปรุงตัววัสดุเองให้มีความแข็งที่ผิวสูงขึ้น

การทำไนไตรดิ้งและไนโตรคาร์บูไรซิ่งด้วยพลาสม่าเป็นกระบวนการที่ทำโดยใช้แก๊สผสมที่ผ่านการไอออนไนซ์ ซึ่งแก๊สนี้จะประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจนหรือคาร์บอน กระบวนการทั้งสองรูปแบบนี้จะทำในสภาวะสุญญากาศ โดยใช้พลาสม่าพลังงานต่ำและอุณหภูมิอบชุบค่อนข้างต่ำที่ประมาณ 380–560°C ในทางกลับกัน การทำไนไตรดิ้งด้วยแก๊สจะทำในสภาวะความดันบรรยากาศ โดยใช้แอมโมเนีย ซึ่งจะเกิดการแยกตัวและทำหน้าที่เป็นสารให้ไนโตรเจนและไฮโดรเจน ในกรณีที่เป็นกระบวนการในลักษณะที่มีการให้คาร์บอน เราจะเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า การทำไนโตรคาร์บูไรซิ่งด้วยแก๊ส อุณหภูมิโดยทั่วไปที่ใช้ในการอบชุบคือ 430–580°C การทำไนไตรดิ้ง/ไนโตรคาร์บูไรซิ่งด้วยแก๊สสามารถทำร่วมกันกับการทำไนไตรดิ้ง/ไนโตรคาร์บูไรซิ่งด้วยพลาสม่าและการทำออกซิเดชั่นในขั้นตอนต่อไปได้ เพื่อให้วัสดุมีคุณสมบัติป้องกันการเป็นสนิมที่ดียิ่งขึ้น

เนื่องจากเราสามารถปรับปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการได้อย่างอิสระ ทำให้เราสามารถปรับความลึกและอุณหภูมิของการทำไนไตรดิ้ง รวมไปถึงความแข็งของพื้นผิววัสดุได้อย่างแม่นยำตามความเหมาะสมกับชิ้นงาน

เบิร์นฮาร์ด ไรเซิร์ท ผู้จัดการฝ่ายดูแลลูกค้าหลัก แผนกไนไตรดิ้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของเออร์ลิคอน บัลเซอร์ส

ปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการส่งผลต่อประสิทธิภาพและความต้านทานการล้าของชิ้นงาน และในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการเป็นสนิมและการสึกหรอด้วยเช่นกัน แนวทางการออกแบบที่เลือกใช้ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ประหยัดวัสดุได้มากขึ้น พร้อมทั้งป้องกันบริเวณพื้นผิวที่อยู่ภายใต้ความเค้นของชิ้นงานจากการสึกหรอจากการเสียดสี การยึดติด และสนิม

ผลิตภัณฑ์ BALITHERM คือคำตอบที่ทำให้สามารถปรับค่าต่างๆ ของกระบวนการได้ตามความต้องการของลูกค้า “การตัดสินใจเลือกว่า กระบวนการใดเหมาะกับชิ้นงานลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปทรงชิ้นงาน รูปแบบของแรงเค้น คุณสมบัติที่ต้องการ และระดับพิกัดความเผื่อที่ยอมรับได้ เนื่องจากเราสามารถปรับปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการได้อย่างอิสระ ทำให้เราสามารถปรับความลึกและอุณหภูมิของการทำไนไตรดิ้ง รวมไปถึงความแข็งของพื้นผิววัสดุได้อย่างแม่นยำตามความเหมาะสมกับชิ้นงานและความต้องการของลูกค้า นี่คือเหตุผลที่ BALITHERM เป็นคำตอบที่ให้ความยืดหยุ่นสูงเป็นพิเศษสำหรับงานรูปแบบต่างๆ” เบิร์นฮาร์ด ไรเซิร์ท ผู้จัดการฝ่ายดูแลลูกค้าหลัก แผนกไนไตรดิ้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของเออร์ลิคอน บัลเซอร์ส อธิบาย

ติดต่อเรา

Petra Ammann

Petra Ammann

Head of Product Marketing Communications

© Copyright 2025 OC Oerlikon Management AG

กลับไปที่ด้านบน keyboard_arrow_up

keyboard_arrow_up